ขอเชิญชวนเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ “Modern Supply Chain สำหรับ SMEs ยุคใหม่”
ดีพร้อมขอเชิญชวนเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “Modern Supply Chain สำหรับ SMEs ยุคใหม่” กิจกรรมดีดีห้ามพลาด ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ผู้ประกอบการยุคใหม่จำเป็นต้องรู้ โดย ดร.กฤษฎ์ ฉันทจิรพร ผู้อำนวยการ SCM International Training Center หัวข้อการบรรยาย การบริหารจัดการโซ่อุปทานสมัยใหม่ (Modern Supply Chains) เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กรและตอบสนองความต้องการเฉพาะของลูกค้า การวิเคราะห์วางแผนในกระบวนการบริหารจัดการ และบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของบริษัทต่าง ๆ ท่ามกลางพลวัตและ Disruption ทางธุรกิจร่วมกิจกรรมได้ใน วันที่ 7 กรกฎาคม 2565 เวลา 13:30-15:45 น. ผ่านช่องทาง Facebook Live และ YouTube Live ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ติดตามลิงค์การเข้าร่วมอบรมได้ที่ Facebook Fanpage : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม - DIProm YouTube Live ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถ้าไม่อยากพลาดกิจกรรมดีดีอย่าลืมกดติดตามช่องทางของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
01 ก.ค. 2022
ร่วมแสดงศักยภาพการยกระดับเกษตรอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม ภายในงาน งานมหกรรม FTI EXPO 2022
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมแสดงศักยภาพการยกระดับเกษตรอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม ภายในงาน งานมหกรรม FTI EXPO 2022 พบกับการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ภายใต้แนวคิด “เกษตรอุตสาหกรรมดีพร้อม” ZONE 1 : ปั้นนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ พบกับมุมจิบกาแฟ DIPROM CAFE : กาแฟสดแม่ตอน / Coco Valley / ชา 101 เชียงราย / Street Coffee Crew ZONE 2 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผลิตภาพ และมาตรฐานในโครงการ ARGO GENIUS STANDARDIZATION / สินค้า BCG / UP CYCLING / DIPROM CIV ZONE 3 : เทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรม แสดงเครื่องจักรอุตสาหกรรมเกษตร / IAID APPLICATION ZONE 4 : การเชื่อมโยงสู่ตลาดเกษตรอุตสาหกรรม จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ DIPROM GENIUS ACADEMY และร่วมสนุกกับกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย พร้อมลุ้นรับของรางวัลภายในบูธดีพร้อม พบกันที่บูธ A104 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) 29 มิถุนายน - 3 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ โซน A1 DIAMOND SPONSOR ทางเข้าห้องประชุมราชพฤกษ์ 1 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ จังหวัดเชียงใหม่ (CMECC) ดูรายละเอียดงานเพิ่มเติมได้ที่ https://ftiexpo.com
30 มิ.ย. 2022
ขอเชิญฝึกอบรมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน
ขอเชิญเข้าฝึกอบรมออนไลน์ “แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจหมุนเวียน” วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 - 15.30 น. เพื่อจัดการ waste อย่างถูกต้อง...และมีรายได้กลับมา ให้ธุรกิจของคุณ....ได้รับประโยชน์สูงสุด รวยได้ด้วยขยะและการคัดแยก หัวข้อที่น่าสนใจ แนวทางจัดการขยะและบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว (เรียนรู้หลัก 3Rs.. เปลี่ยนขยะเป็นเงิน..และการเพิ่มมูลค่า) การจัดการกากอุตสาหกรรมในสถานประกอบการ มุ่งสู่ Zero Waste ตย. อุตสาหกรรมกระดาษ และอื่น ๆ บ้านโป่งโมเดล : ต้นแบบความสำเร็จการจัดการขยะชุมชนรอบโรงงาน (ชนะเลิศ 3 ปีซ้อน) การสร้างความร่วมมือด้านจัดเก็บวัสดุรีไซเคิลเพื่อความยั่งยืนกับ SCGP Recycle โครงการ Old for New แชร์ประสบการณ์ภาครัฐและภาคเอกชน กิจรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 80 ปี กระทรวงอุตสาหกรรม 8,000 กิโลกรัม รีไซเคิลสู่สังคม สมัครด่วน Click สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม โทร. 0 2430 6954 ต่อ 695417 #BCG Model #Zero Waste #รีไซเคิลสู่สังคม #นำกลับมาใช้ใหม่recycling #ลดโลกร้อน
22 มิ.ย. 2022
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม เปิดแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและธุรกิจภาคอุตสาหกรรมผ่านนโยบาย “ดีพร้อมแคร์”
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม เปิดแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและธุรกิจภาคอุตสาหกรรมผ่านนโยบาย “ดีพร้อมแคร์” โดยเป็นการยกระดับและฟื้นฟูผู้ประกอบการที่ตรงกับทุกปัญหาและความต้องการ ด้วย 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การเจาะลึกและเข้าถึงปัญหาของผู้ประกอบการด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ, การเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงเครื่องมือและโครงการของดีพร้อม,การปฏิรูปศูนย์และโครงการต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการพัฒนาการผลิตและการดำเนินธุรกิจด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการเชื่อมโยงพันธมิตรในทุกระดับเพื่อบูรณาการทำงานจากทั้งในและต่างประเทศ คาดพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการกว่า 16,000 ราย สร้างมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง 2564 หลายธุรกิจอุตสาหกรรมเริ่มมีการฟื้นตัวและส่งสัญญาณการเติบโตที่ดีขึ้น โดยกลุ่มที่สำคัญอย่าง MSMEs พบว่าวิสาหกิจขนาดย่อย (Micro) มีการฟื้นตัวค่อนข้างเร็วประมาณร้อยละ 8 เนื่องด้วยมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐ ขณะที่กลุ่มวิสาหกิจขนาดย่อม (SEs) ยังคงฟื้นตัวได้ช้า โดยมีปัจจัยสำคัญคือขาดเงินทุนหมุนเวียน ส่วนในกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง (MEs) ยังคงฟื้นตัวได้แต่เป็นไปอย่างช้า ๆ ที่ร้อยละ 2.2 ซึ่งมีแรงบวกจากภาคการส่งออก และเงินทุนหมุนเวียนที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง ทางด้านอุตสาหกรรมในภาพรวมพบว่า GDP ภาคอุตสาหกรรมสามไตรมาสแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 7.4 และภาคการผลิตกำลังกลับมาฟื้นตัวเนื่องด้วยตลาดส่งออกขยายตัวจากมาตรการทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของภาครัฐ โดยประเภทของอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงการผลิตในภาคการเกษตรเนื่องด้วยอัตราความต้องการในการบริโภคที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูง ทั้งนี้จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น กรมส่งเสริมอุตสาหกกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม ได้เล็งถึงโอกาสในการเร่งฟื้นฟูและพัฒนาผู้ประกอบการหลังจากได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่ผ่านมา และดีพร้อมได้ทราบถึงปัญหาที่แท้จริงจากการสำรวจปัญหา ความต้องการ และการรับฟังความคิดเห็นของเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้ตอบโจทย์ความต้องการในทุกมิติและสอดรับกับบริบททั้งในชิงเศรษฐกิจและสังคมผ่านแนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565 ภายใต้ นโยบาย “DIProm CARE: ดีพร้อม แคร์” ดังนี้ Customization – การวิเคราะห์ผลกระทบ ความเสี่ยง หรือปัจจัยโดยรวมที่มีผลต่อการเติบโตทางธุรกิจ เพื่อทำให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริง โดยจะนำศาสตร์ Shindan ซึ่งเป็นศาสตร์การวินิจฉัยจากญี่ปุ่นมาช่วยในการเจาะลึกต้นตอของปัญหาธุรกิจ พร้อมทั้งช่วยออกแบบหรือ สรรหาเครื่องมือ เทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับระดับของสถานประกอบการ ตลอดจนวิเคราะห์และช่วยทำแผนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเชิงพื้นที่ เพื่อให้เป็นไปตามบริบทที่แท้จริง Accessibility – เนื่องด้วยการกระจุกตัวของของหน่วยงานด้านความช่วยเหลือภาคธุรกิจ และการสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่ยังคงอยู่ในส่วนกลาง ตลอดจนการเริ่มกระจายตัวของผู้ประกอบการที่ขยายไปสู่ระดับภูมิภาคมากขึ้น ดีพร้อมจึงได้ขยายช่องทางการเข้าถึงทั้งที่เป็นเครื่องมือบุคลากรในการให้คำปรึกษา รวมถึงโครงการและศูนย์การส่งเสริมไปสู่ระดับภูมิภาคเพื่อให้ทุกกลุ่มธุรกิจ และวิสาหกิจชุมชนสามารถเข้าถึงการสนับสนุนได้อย่างเท่าเทียม โดยมีตัวอย่างเช่น Diprom E-service หรือการนำระบบ Online มาใช้ในการให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายทั้งในเรื่องการส่งเสริมองค์ความรู้ การให้คำปรึกษาทางไกล ฯลฯ ตลอดจนการจัดมหกรรมในด้านธุรกิจที่จะขยายไปสู่ระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง Reformation – เนื่องด้วยบริบทการดำเนินธุรกิจในยุค New Normal ที่ส่งผลให้การประกอบธุรกิจต้องตระหนักและมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัญหาที่พบเจอของผู้ประกอบการ เช่น เทคโนโลยี การพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์กับแต่ละตลาด หรือแม้แต่กระทั่งความสามารถของแรงงานในแต่ละภูมิภาคที่กลับคืนถิ่น ดีพร้อมจึงตระหนักและได้ปฏิรูปกลไกการดำเนินงานในภาพรวมของทุกโครงการ และการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคให้มีรูปแบบการทำงานที่สอดคล้องกับยุค New Normal หรือเศรษฐกิจวิถีใหม่ ตลอดจนเพิ่มบทบาทของศูนย์ฯ เพื่อทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้บริการได้อย่างครบวงจร Engagement – เป็นการอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีความโดดเด่นในแต่ละด้านทั้งภาครัฐและเอกชน มาช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการใหม่ให้มีการเติบโตที่ดียิ่งขึ้นในรูปแบบแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างหน่วยงานเครือข่าย ตลอดจนการเชื่อมโยงพันธมิตรเพื่อจัดกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านรูปแบบการจับคู่ธุรกิจ การทดสอบตลาด อีกทั้งยังได้ดึงความร่วมมือจากนานาชาติมาร่วมพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย เช่น สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) รวมถึงมีแผนจะขยายความสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมไปประเทศอื่น ๆ อาทิ สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อให้ผลผลิตทางอุตสาหกรรมของไทยได้มีโอกาสก้าวสู่ตลาดโลกที่กำลังจะมีการเปิดประเทศมากขึ้น ในอนาคต นอกจากนี้ภายใต้นโยบายดังกล่าวดีพร้อมได้วางรูปแบบและโปรแกรมสนับสนุนภาคธุรกิจ 4 ด้านประกอบด้วย ด้านการสนับสนุนปัจจัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งประกอบด้วย โครงการ CIV+ การยกระดับสินค้าและบริการในชุมชนท่องเที่ยวให้มีมูลค่าและเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศรวมถึงสามารถดึงดูดการจ้างงานได้ โครงการถุงดีพร้อมช่วยธุรกิจชุบชีวิตชุมชน ซึ่งเป็นการทดสอบตลาดผ่านถุงดีพร้อมและช่วยผู้ได้รับผลกระทบในวิกฤต การส่งเสริม E-Commerce 3.0 ในการยกระดับการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ พัฒนาผู้ประกอบการให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด รวมทั้งโครงการ Logistics-for-เกษตรอุตสาหกรรม เป็นการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตรตั้งแต่ต้นทางสู่ปลายทาง อีกทั้งยังจะมีการดึงเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจด้วยการนำ Digital SI-for-SME โดยการเชื่อมโยงผู้ประกอบการที่มีศักยภาพด้านออโตเมชั่นมาสนับสนุนการประกอบการของเอสเอ็มอีเพื่อเป็นการสร้างธุรกิจที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมแห่งอนาคตภายใต้ S curve-for-SME ด้านการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน จะมีการยกระดับ ITC-2-OEM ศูนย์ปฏิรูปเกษตรอุตสาหกรรมสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ OEM โดยจะเชื่อมโยงผู้รับจ้างผลิตเพื่อให้ผู้ประกอบการที่พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ผ่านศูนย์ ITC สามารถนำไปผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้จริง รวมถึงการขยายเครือข่าย IDC-2-Thai เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์ทั่วประเทศ ตลอดจนศูนย์ทดสอบคุณภาพมาตรฐานและรับรองแหล่งกำเนิดในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ อาหาร สินค้าฮาลาล กาแฟ ผลิตภัณฑ์พืชเศรษฐกิจใหม่ 3ก (กัญชง กัญชา กระท่อม) เครื่องเรือน และเซรามิก การสนับสนุนมาตรฐานและสินเชื่อ ผ่าน 2 มาตรการ ได้แก่ มาตรการส่งเสริมธุรกิจในไทย ในโครงการ MIT และ SME-GP เพื่อทำให้กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมมีโอกาสเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และโครงการ Thailand Textile Tag ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าที่ผลิตในประเทศไทย รวมถึงสินเชื่อดีพร้อมเปย์เพื่อให้ธุรกิจ SME มีเงินทุนหมุนเวียน และปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการ และด้านสุดท้ายคือ การสนับสนุนศักยภาพบุคลากร ผ่านการปั้นนักธุรกิจวิถีใหม่ในโครงการ NEC วิถีใหม่ โครงการ “ปลูกปั้น” คอร์สอบรมคนดีพร้อม และโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม หรือ คพอ. : Diprom mini MBA อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 จะดำเนินงานภายใต้งบประมาณการทำงาน 527.68 ล้านบาท โดยตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพบุคลากรในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 16,000 ราย และคาดการณ์ว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 7,000 ล้านบาท นายณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย
20 เม.ย. 2022
ขอเชิญเข้าร่วมสัมนาออนไลน์ ติดปีกอุตสาหกรรม ฮาลาลไทยสู่ตลาดโลก
เตรียมพบกับงานสัมมนาออนไลน์ ติดปีกอุตสาหกรรม ฮาลาลไทยสู่ตลาดโลก..Thailand’s Halal to The Global Market กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม วันพุธที่ 27 เมษายน 2565 เวลา 09.00-12.00 น. พบกับ ดร.อริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คุณสมศักดิ์ ซูโอ๊ะ นักวิชาการฝ่ายกิจการฮาลาล สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ดร.อาบีดีน วันขวัญ ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ชะรีอะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย คุณพิไรรัตน์ บริหาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพชรดำฟู้ดส์ จำกัด ร่วมพูดคุยและให้ความรู้ในหัวข้อ กลยุทธสำคัญในการพาธุรกิจอุตสาหกรรมไทยไปสู่ตลาดโลก การส่งเสริมการรับรองมาตรฐานฮาลาล กลยุทธด้านการเงิน/สินเชื่อ ที่ทำให้อุตสาหกรรมไทยไปสู่ตลาดโลก ผ่าน ZOOM & Live streaming Facebook : กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เข้าร่วมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย (free) สนใจติดต่อ หรือสแกนผ่าน QR code (LINE messenger) https://bit.ly/3KWCPSy 02 430 6877 ต่อ 2 plan.iaidd@gmail.com
20 เม.ย. 2022
ประชาสัมพันธ์_4_TEST
TEST...TEST
20 เม.ย. 2022
ประชาสัมพันธ์_3_TEST
TEST...TEST
20 เม.ย. 2022
ประชาสัมพันธ์_2_TEST
TEST...TEST
20 เม.ย. 2022